บทความ

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์         http://teaching-maths3.blogspot.com (2553) ได้รวบรวมข้อมูลไว้ว่า  ความหมายของสื่อการเรียนการสอน           สื่อการสอน คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน           ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้ ยุพิน พิพิธกุล(2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้ 1.ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น 2.เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้ 3.เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน 4.เพื่อให
วิธีสอนแบบ CIPPA Model             ครู Edozone  (2560) ได้รวบรวมข้อมูลของวิธีสอนแบบ CIPPA Model ไว้ดังนี้ แนวคิด การจัดการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลซิปปา เป็นแนวคิดของทิศนา แขมมณี ที่กล่าวว่า ซิปปา (CIPPA) เป็นหลักการซึ่งสามารถนำไปเป็นหลักในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ให้แก่ผู้เรียน การจัดกระบวนการเรียนการสอนตามหลัก “CIPPA”  สามารถใช้วิธีการและกระบวนการที่หลากหลาย อาจจัดเป็นแบบแผนได้หลายรูปแบบ CIPPA MODEL เป็นวิธีหนึ่งในการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เป็นรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้นักเรียนศึกษาค้นคว้า  รวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง การมีส่วนร่วมในการสร้างคามรู้ การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนความรู้ การได้เคลื่อนไหวทางกาย การเรียนรู้กระบวนการต่าง ๆ และการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ การจัดการเรียนการสอนแบบ CIPPA MODEL มาจากแนวคิดหลัก 5 แนวคิด ซึ่งเป็นแนวคิดพื้นฐานในการจัดการศึกษา ได้แก่ 1. แนวคิดการสร้างสรรค์ความรู้ (Contructivism) 2. แนวคิดเรื่องกระบวนการกลุ่มและการเรียนแบบร่วมมือ (Group Process and Cooperative Learning) 3. แนวคิดเกี่ย
วิธีการในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (Methods of teaching  mathematics)       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2540)   ได้รวบรวมวิธีการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ 1. วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics) 2. วิธีสอนแบบวรรณี 3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง 4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ 5. วิธีสอนแบบอุปมาร 6. วิธีสอนแบบอุปมาน 7. วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ 8. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา 9. วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม 10. วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล 11. วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย 12. วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด 13. วิธีสอนการแก้ปัยหาแบบ 5 ขั้น 14. วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ 15. วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิด กับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว 16. วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์ 17. วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน 18. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) 19. วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ 20. วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ 21. วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า 22. วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)               ทิศนา  แขมมณี (2553:98-106) ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้งๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสัน และจอห์สัน (Johnson and Johnson, 1994: 31-32)กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ                 1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่อง หร