บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กรกฎาคม, 2018
วิธีการในการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ (Methods of teaching  mathematics)       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ (2540)   ได้รวบรวมวิธีการสอนคณิตศาสตร์ไว้ดังนี้ 1. วิธีสอนแบบเวทคณิต (Vedic Mathematics) 2. วิธีสอนแบบวรรณี 3. วิธีสอนด้วยกระบวนการสอนแบบเรียนเพื่อรู้แจ้ง 4. วิธีสอนแบบสร้างศรัทธาและโยนิโสมนสิการ 5. วิธีสอนแบบอุปมาร 6. วิธีสอนแบบอุปมาน 7. วิธีสอนตามระเบียบขั้นตอนทางวิทยาศาสตร์ 8. วิธีสอนแบบแก้ปัญหา 9. วิธีสอนแบบเทคนิค 4 คำถาม 10. วิธีสอนแบบพัฒนารายบุคคล 11. วิธีสอนแบบค้นพบในกลุ่มย่อย 12. วิธีสอนที่มีกระบวนการสร้างความคิดรอบยอด 13. วิธีสอนการแก้ปัยหาแบบ 5 ขั้น 14. วิธีฝึกพัฒนาทักษะการบวกเลขในใจ 15. วิธีสอนแบบให้ตัวอย่างถูกต้องและตัวอย่างผิด กับการให้ตัวอย่างผิดกับตัวอย่างถูกอย่างเดียว 16. วิธีสอนแก้ปัญหาโจทย์ 17. วิธีสอนแบบแผนผังต้นไม้ 5 ลำดับขั้นตอน 18. วิธีสอนแบบแบ่งกลุ่มตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน (STAD) 19. วิธีสอนแบบการสอนที่พัฒนามาจากสุลัดดาและคณะ 20. วิธีสอนโดยวิธีค้นพบ 21. วิธีสอนแบบจัดมโนมติล่วงหน้า 22. วิธีสอนแบบสอดแทรกมโนทัศน์ทางจริยธ
ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ  (Theory of Cooperative or Collaborative Learning)               ทิศนา  แขมมณี (2553:98-106) ได้กล่าวไว้ว่า การเรียนรู้แบบร่วมมือ คือการเรียนรู้เป็นกลุ่มย่อยโดยมีสมาชิกกลุ่มที่มีความสามารถแตกต่างกันประมาณ 3-6 คนช่วยกันเรียนรู้เพื่อไปสู่เป้าหมายของกลุ่ม นักการศึกษาคนสำคัญที่เผยแพร่แนวคิดของการเรียนรู้แบบนี้คือ สลาวิน (Slavin) เดวิด จอห์นสัน (David Johnson) และรอเจอร์ จอห์นสัน (Roger Johnson) เขากล่าวว่า ในการจัดการเรียนการสอนโดยทั่วไป เรามักจะไม่ให้ความสนใจเกี่ยวกับความสัมพันธ์ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน หรือระหว่างผู้เรียนกับบทเรียน ความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนเป็นมิติที่มักจะถูกละเลยหรือมองข้ามไปทั้งๆ ที่มีผลการวิจัยชี้ชัดเจนว่า ความรู้สึกของผู้เรียนต่อตนเอง ต่อโรงเรียน ครูและเพื่อนร่วมชั้น มีผลต่อการเรียนรู้มาก จอห์นสัน และจอห์สัน (Johnson and Johnson, 1994: 31-32)กล่าวว่า ปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนมี 3 ลักษณะคือ                 1. ลักษณะแข่งขันกัน ในการศึกษาเรียนรู้ ผู้เรียนแต่ละคนจะพยายามเรียนให้ได้ดีกว่าคนอื่น เพื่อให้ได้คะแนนดี ได้รับการยกย่อง หร
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน  (Constructionism)                  ลักขณา  สริวัฒน์ (2557: 188-192)  ได้กล่าวถึงทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงานไว้ดังนี้ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองโดยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Constructionism) ทฤษฎีนี้พัฒนาโดยศาสตราจารย์ซีมัวร์ เพเพิร์ท (Papert. 1980) แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาซูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology : M.I.T.) ที่ได้มีโอกาสร่วมงานกับเพียเจต์และได้พัฒนาทฤษฎีนี้มาใช้ในวงการศึกษาโดยมีแนวคิดว่าการเรียนรู้ที่ดีและทรงประสิทธิภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ที่ผู้เรียนจะต้องมีกระบวนการสร้างสรรค์องค์ความรู้ด้วยตนเอง ผู้เรียน ผู้เรียนจะต้องสร้างความหมายให้กับสิ่งที่สนใจนั้นด้วยตนเองและอยู่ในบริบทที่แท้จริงของผู้เรียนเอง จากนั้นผู้เรียนได้มีโอกาสนำความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้นมานั้นไปสร้างสรรค์ชิ้นงานขึ้นมา เป็นการทำให้เห็นความคิดเห็นที่เป็นรูปธรรม เพราะเมื่อผู้เรียนสร้างสิ่งใดขึ้นมาในโลกก็หมายถึงการสร้างความรู้ในตนเองขึ้นมานั่นเอง หากสังเกตให้ดีจะเห็นว่าทฤษฎีการเรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการสร้างสรรค์ชิ้นงาน (Cons
ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง (Constructivism)                  ทิศนา  แขมมณี (2554:90) แนวคิดทฤษฎีที่ใช้  แนวคิด Constructivism เกี่ยวข้องกับธรรมชาติของความรู้ของมนุษย์ มีความหมายทั้งในเชิงจิตวิทยาและเชิงสังคมวิทยา ทฤษฎีด้านจิตวิทยา เริ่มต้นจาก Jean Piaget ซึ่งเสนอว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นกระบวนการส่วนบุคคลมีความเป็นอัตนัย Vygotsky ได้ขยายขอบเขตการเรียนรู้ของแต่ละบุคคลว่า เกิดจากการสื่อสารทางภาษากับบุคคลอื่น สำหรับด้านสังคมวิทยา Emile Durkheim และคณะ เชื่อว่าสภาพแวดล้อมทางสังคมมีผลต่อการเสริมสร้างความรู้ใหม่         ทฤษฎีการเรียนรู้ตามแนว Constructivism จัดเป็นทฤษฎีการเรียนรู้กลุ่มปัญญานิยม (cognitive psychology) มีรากฐานมาจากผลงานของ Ausubel และ Piaget ประเด็นสำคัญประการแรกของทฤษฎีการเรียนรู้ตาม Constructivism คือ ผู้เรียนเป็นผู้สร้าง (Construct) ความรู้จากความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งที่พบเห็นกับความรู้ความเข้าใจที่มีอยู่เดิม โดยใช้กระบวนการทางปัญญา(cognitive apparatus) ของตน ประเด็นสำคัญประการที่สองของทฤษฎี คือ การเรียนรู้ตามแนว Constructivism คือ โครงสร้างทางปัญญา เป็นผลของความ
ทฤษฎีพหุปัญญา  (Theory of Multiple Intelligences)               เทพพิทักษ์ พัฒน์ช่วย (2553)  พหุปัญญา ของ Howard Gardner Howard Gardner   "ไม่มีสมองใครถูกออกแบบมาให้..โง่"่ ปัญญาทั้ง ๘ ด้านมีอยู่ในเราทุกคน แต่คนเราจะมีด้านที่เด่นบางด้าน ในขณะที่บางด้านด้อยกว่า แต่สามารถพัฒนาได้ดั่งเช่นที่ทฤษฎีการเรียนรู้ของ Howard Gardner เสนอให้พัฒนาปัญญาทั้ง ๘ ด้าน สรุปแล้ว Multiple Intelligence แรกเริ่มโฮเวิร์ด การ์ดเนอร์ คิดไว้ 7 ด้านด้วยกัน ได้แก่             1. ความฉลาดทางด้านภาษา (Linguistic intelligence) ความสามารถในการเข้าใจความหมายและการใช้ภาษา การพูดและการเขียน การเรียนรู้ภาษา การใช้ภาษาสื่อสารให้ได้ผลตามเป้าหมาย สื่ออารมณ์ความรู้สึกให้คนอื่นเข้าใจได้ดี เช่น กวี นักเขียน นักพูด นักกฎหมาย             2. ความฉลาดทางด้านตรรกะ (Logical-mathematic intelligence) ความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ และเรื่องของเหตุผล คิดวิเคราะห์ในเชิงวิทยาศาสตร์ เช่น นักวิทยาศาสตร์ นักคณิตศาสตร์             3. ความฉลาดทางด้านดนตรี (Musical intelligence) ความสามารถในการเข้าใจและสร้างสรรค์ดนตรี เข้าใ